ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Project : Electrostatic Headphone

     สวัสดีครับพี่ๆน้องๆ หายไปนานเลยครับ ช่วงนี้ผู้เขียนไม่ค่อยจะว่าง อย่างนี้แหละครับ Fresh Meat ปีหนึ่ง กิจกรรมตารางเยอะแยะไปหมด เข้าเรื่องเลยครับ รอบนี้มาแบบแปลกๆสักหน่อยคือการประกอบตัวหูฟัง แต่เราไม่เอาแบบธรรมดาๆครับ จะประกอบชนิด Electrostatic หากผู้อ่าน งง ละก็ผมแนะนำให้อ่านในนี้ครับ หลักการการทำงาน http://www.kenrockwell.com/audio/stax/electrostatic.htm งานนี้ผมจะประกอบตั้งแต่ตัวขับหรือไดรเวอร์ยันตัวหูฟังเลยทีเดียวครับ ขั้นแรกก็มาชมหน้าตาเจ้าหูฟัง ESL ของผู้เขียนซึ่งหน้าตาพึลึกแปลกเละ


     หน้าตาอย่างนี้อย่าดูถูกกันเชียวนะครับ ถึงจะเละแต่เสียงนี่เอาเรื่องเกินหน้าตาทีเดียวกินหูฟังหน้าตาดีไปหลายตัวอยุ่ แบบว่า "คารมณ์เป็นต่อ รูปหล่อเป็นตุ็ด" (ฮา) รูปลักษณ์ที่มาแบบมามืดทีเดียว สนนเจ้านี่ลงทุนไปเพียงไม่กี่บาท ผู้เขียนหมดงบไปราวๆ 1,300 บาทเท่านั้น แต่เสียงดีกว่าหูฟังราคาเกือบสามอีก


     เริ่มต้นเจ้านี่ก็ต้องมีไดรเวอร์ก่อน ในที่นี้เพื่อเป็นการประหยัดงบและสร้างง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่ ผุ้เขียนจะขอนำตัวไดรเวอร์แบบง่ายๆ(แต่ได้ผลดี) ราคาถูก มาให้ทำกันครับ


     โดยวงจรเป็นแบบ Driver แบบ Step-up อย่างง่าย แต่วงจรอย่างง่ายนี้อินพุทต่อกับเครื่องเล่นโดยตรงไม่ได้นะครับต้องต่อกับเพาเวอร์แอมป์เท่านั้น หม้อแปลง T3-T4 ให้ใช้หม้อแปลงเอ้าพุท 8 OHM : 5-10K หรือสูงกว่านั้น อาจจะใช้หม้อแปลงไลน์แมชชิ่ง 4ohm/100V แทนได้ ถ้าหากท่านผู้อ่านมีหม้อแปลงเอ้าพุตที่ใช้กับแอมป์หลอดแบบพุชพูลขนาด 8K.CT หรือสูงกว่า ใช้ได้ครับ โดยให้เอา R3-6 ออกแล้วต่อตรงเข้า CT หรือ Center Tap ครับ ในส่วน R1-2 นั้นให้ใช้ค่าเท่าไหร่ก็ได้ครับขอให้ไกล้เคียง 20Mohm แต่ผู้เขียนใส่แค่ 300 OHM เองครับ (ฮ่าๆ) ซึ่งตรงนี้ขอเตือนเลยนะครับอย่าใช้ตามผู้เขียนเด็ดขาด เนื่องจาก R ตัวนี้เป็นตัวจำกัดกระแสเพื่อความปลอดภัยในกรณีไฟรั่วครับแถมไฟค่อนข้างสูงมากเนื่องจากไฟที่ได้จากหม้อแปลงจะเป็น 220VAC แล้วนำไปเข้า Double Voltage แบบ Ladder ทำให้ได้ไฟออกมาราวๆ 500-600Vdc กันเลยทีเดียว แต่ตัวผู้เขียนนั้นยึดหลักที่ว่า "Let it Be" หรือ "ช่างหัวมัน" (ฮาอีกที) คว้าไอ้นี่ได้ก็จับๆใส่ไปกันพอเป็นพิธีก็พอ ผู้เขียนโดดไฟบ้านไฟแอมป์หลอดดูดจนชินละครับ


กล่องไดรเวอร์ของผู้เขียนครับ


     ภายในของ Driver ของผู้เขียน จะเห็นว่าภาคจ่ายไฟนั้นมีหม้อแปลงเพียงตัวเดียว ซึ่งตรงนี้มิได้ตายตัวว่าจะต้องเป็นไปตามวงจรครับ ผู้เขียนเลือกใช้หม้อแปลง Isolate ขนาด 1:1 หรือ เข้า 220V ออก 220V 15VA และไม่จำเป็นว่าจะต้องไฟเท่านี้ ต้องใช้วงจร Double Voltage หรืออะไร จะใช้ Rectifier ธรรมดาๆก็ได้ ตรงนี้ขอให้ไฟสำหรับไบแอสหูฟังอยุ่ที่ 500-600Vdc ก็พอครับ สูตรที่ใช้ไม่ตายตัวครับ แต่ตัว Capacitor กรองแรงดันไม่ควรใช้เยอะเกินครับ 0.022uF ก็เหลือเฝือละครับ ใช้เยอะเกินยิ่งเวลารั่วอันตรายกว่าด้วยครับ แบบทั่วๆไป 0.01uF ก็พอครับ อ้อ ต้องทนไฟไม่ต่ำกว่า 600V นะครับ ใช้ 1Kv เลยยิ่งดีครับ


     ภาคอินพุตและหม้อแปลงสเตปอัพครับ ตัวต้านทานที่ต่อขนานกันคือ 2ohm/5w ในวงจรนั่นเอง ผู้เขียนเลือกใช้ 10ohm/2W ขนานกัน 4 ตัวทำให้ได้ที่รวมคือ 2.5ohm/8w ครับ ตัวต้านทานพวกนี้ผุ้เขียนแนะนให้ใส่ครับ เป็นตัวช่วยให้วงจรไม่โหลดเพาเวอร์แอมป์มากเกินไปครับ ผู้เขียนเลือกใช้หม้อแปลงขนาด 8ohm:0-1.7K-3.3K-10K ของ TOA เป็นหม้อแปลงไลน์แมทชิ่ง ผุ้เขียนเลือกต่อที่ 0-10K ครับ ให้เลือกไว้สูงๆครับเสียงจะดังกว่า
     เมื่อไดรเวอร์เสร็จแล้ว ก็ต้องทำในส่วนของสายด้วยครับ แนะนำว่าให้เลือกใช้สายแพร์ครับ ผุ้เขียนใช้สายแพรืชุบเงินและคอนเน็คเตอร์แบบ 6pin 


     ในส่วนหูฟังนั้นผู้เขียนเลือกใช้แผ่น PCB แบบหน้าเดียวมาเป็นโครง แผ่นปิดหน้า-หลังเจาะรูเยอะๆ (พยายามอย่าเจาะให้เละละกัน เพราะของผู้เขียนเละมาก) แผ่นกลางตัดตรงกลางเพื่อยึดในส่วน membrane ดูตามภาพโครงสร้างคร่าวๆนะครับ


     โดยการประกอบให้ประกอบด้านทองแดงเข้าในครับ แต่ก่อนจะประกอบให้เอาแผ่น Spacer ไปขึง Membrane ก่อน ผมแนะนำให้ใช้แผ่นพลาสติกห่ออาหารในห้องครัวครับ ทั้งหาง่าย,ราคาถูกแถมยังเหมาะสมเอามากๆ โดยนำมาขึงกับ Spacer ด้านทองแดงอย่าลืมทากาวที่แผ่นที่ขึงนะครับ (อีกแผ่นไม่ต้องทาครับ) จากนั้นให้ใช้น้ำยา Anti-Static ที่ใช้เช็คจอคอม(หรืออื่นๆ) มาพ่นหรือทา Membrane ด้านที่ไม่ได้ทากาวให้ทั่ว พอแห้งก็จับประกอบกันให้เรียบร้อยครับ ทำอย่างนี้ทั้งสองข้างครับ ทีเหลือก็ทดสอบเลยครับ ต่อตามวงจรด้านบนนะครับ

อันนี้ผู้เขียนทดลองการทำงานเปิดเพลงแล้วเอาไมค์กากๆถูกๆของจีนจ่อครับ


ตามนี้ครับ เสียงตามที่ได้ยินครับ

วันนี้ผู้เขขียนมีเวลาไม่มาก จึงรีบๆเขียน ยังไงก็หมดละครับวันนี้ สวัสดีครับ

1 ความคิดเห็น: