ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตู้เชื่อมสร้างเองได้สไตล์ลูกทุ่ง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
Homemade Welder โดย Piyapol Thanaadirod อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.   
-------------

     สวัสดีครับท่านผุ้อ่าน วันนี้มาอีกกับหนึ่งโปรเจ็คง่ายๆแต่ได้ผลดีครับ ออกจากทางออดิโอมาทางโหดสักหน่อย วันนี้มาทำตู้เชื่อมสไตล์ลูกทุ่งกันดีกว่าครับ เหมาะสำหรับท่านที่อยากจะมีไว้ใช้นิดๆหน่อยๆซ่อมแซมของในบ้านเล็กๆน้อยๆ แต่ไม่อยากซื้อของมียี่ห้อราคาแพง ไปดูตัว Demo ครับ

 
(วิดิโอตัว Version 3 ครับ ตัวปัจจุบันคือ 4 ครับ)

     คิดว่าน่าจะมีสนใจอยุ่นะครับ เพราะทั้งสร้างง่ายแถมถูก วัสดุนั้นหาไม่ยากครับ จากตุ้ไมรโครเวฟเก่าๆภายในบ้านของท่าน ส่วนนั้นคือหม้อแปลงไมโครเวฟครับ เราจะนำมันมาดัดแปลงเป้นตุ้เชื่อมกันครับ


ลองเชื่อมๆดู ท้ายๆ Workpiece ละลายเลยครับ เหอะๆ



 -------------------
คำแนะนำ! 
ตู้เชื่อมชนิดนี้ ไม่เหมาะแก่การรับงานหรือทำงานใหญ่ๆ เหมาะสำหรับงานซ่อมของเล็กๆน้อยๆภายในบ้านเท่านั้น! 
-------------------

มาเตรียมอุปกรณ์กันครับ 
 ค้อน,คีม,สิ่วแบบตอกได้,ตาปูหรือเหล็กเส้นขนาด 0.4-1cm,กรรไกร/มีดคัทเตอร์,สายเชื่อมพร้อมหัวจับ,แว่นตากันแสง, ฯลฯ
 วัสดุ
หม้อแปลงจากเตาอบไมโครเวฟ 2 ตัว, สายไฟเมนของบ้านขนาด SQ2-2.5MM,สายไฟ AC ขนาด 2.5mm หรือ ใหญ่กว่า,ท่อหด,พัดลม,Circuit Breaker 20A, ฯลฯ


 -------------------
Warning! คำเตือน!
ผู้ที่จะสร้างโปรเจ็คนี้ ต้องมีประสบการณ์ทางด้านไฟฟ้ามาพอสมควร และทางผุ้เขียนขอไม่รับผิดชอบสิ่งที่เกิดจากความผิดพลาดกับท่านใดๆทั้งสิ้น.
Warning! People who decide to do this project must had an experience in electricity. I'll not respond and ignore to injuiry case.
-------------------

     โอเคครับ สำหรับคนที่จะสร้างเครื่องนี้ควรมีความชำนาญด้านไฟฟ้าพอสมควรนะครับ เนื่องจากโปรเจ็คนี้เราเล่นกับไฟ 220V โดยตรง วัสดุเตรียมตามด้านบนเลยครับ






มาเริ่มกันครับ



ขั้นแรกให้เราตัดลวดในส่วนของ Secondary และ Feedback เดิมออกครับ



วิธี ที่ง่ายตอนนี้คือใช้สิ่วตัดได้ครับ ตัดๆๆออกมาให้หมด ใครมี Grinder ก็ใช้ได้นะครับ คือเอาลวด Sec กับ Fb ออกให้หมดครับ ให้เหลือ Primary ไว้ครับ ตรงนี้ขอบอกว่าระวัง ถ้าทำ Pri เสียนี่จบเลย



เมือตัดออกมาแล้ว ให้เอาตาปูหรือเหล็กที่เตรียมไว้ตอกเข้าไปเลยนะครับ เพื่อดันลวดให้ออกมาให้หมดครับ



จะได้อย่างนี้ครับ
เตรียมสายไฟหรือลวดทองแดงครับ ต้นแบบผมใช้สายไฟพันเพราะหาง่ายไกล้มือที่สุด ผมเลือกใช้สายเดี่ยว sq2.5mm



     ภาย ในรูปอาจจะไม่เหมือนกัน รูปพวกนี้ผมถ่ายตั้งแต่ First Built ตัวที่ท่านเห็นแต่ Thrid Built แล้วครับ แก้ทำใหม่เรื่อย ปัญหาของพวกนี้ไม่พ้นที่การพันลวดให้ได้รอบเยอะๆครับ



     ตอน นั้นผมเลือกใช่สายอ่อนขนาด 8mm ผลที่ได้ไม่ดีเลยครับ Arc ไม่ติดไฟออกน้อยเกิน แต่กระแสตรึม เลยแยกไปอีกตัวทำเป็น Spot Welder หรือเรียกบ้านๆว่าเครื่อง ติ็ก นะครับ



     ควร พันให้ได้สัก 20 รอบครับไม่ควรต่ำกว่านั้น ยิ่งมากยิ่งดี ได้สัก 25-30 รอบกำลังสวย ตรงนี้ผมขอแนะนำให้ใช้ลวดอาบน้ำยาครับ ส่วนผมหาไม่ได้เดินทางลำบาก ทำเล่นๆก็หาไกล้ตัวนี่ละครับ พันยังไงก็ได้ให้ไฟออกสัก 20VAC ครับ จะดีมากๆ ไฟต่ำๆมันจะเชื่อมไม่ได้ครับ



อาจจะมีพันยากบ้าง เอาสิ่วกดสายไฟเข้าหาแกนในช่วยได้เยอะมากครับ พันให้เป็นระเบียบสักหน่อย



หม้อแปลงเสร็จแล้วจะได้อย่างนี้



พันอย่างนี้กับหม้อแปลงทุกตัวนะครับ
ขั้นตอนนี้ง่ายแต่ควรระวังสักหน่อยนะครับ ขั้นตอนนี้เป็นการต่อหม้อแปลงทุกตัวเข้าหากัน


     การต่อนั้นให้ขนานฝั่ง Primary และอนุกรมฝั่ง Secondary ครับ ตรงนี้เพิ่ม Voltage ขึ้นไปอีก ไดอแกรมมันจะเป็นสองตัว ใครใช้สามก็ต่อสามเลย Pri ขนาน Sec อนุกรมกันตรงนี้ระวังเรื่องเฟสของหม้อแปลงด้วยนะครับ ถ้าผิดเฟสไม่ถึงกับพังแต่ไฟมันจะไม่ออกนะครับ ออกน้อยลงเพราะหม้อแปลงมันจะหักล้างโวลท์กันเอง ต้องต่อให้ถูกเราจะให้หม้อแปลงมันช่วยกัน Push-Pull ให้แรงดันสูงๆเวลาเชื่อมจะเชื่อมง่าย
<<< สำหรับคนที่หาหม้อแปลงได้มาเป็นแบบของไฟ 110V ให้อนุกรม Pri นะครับ มันจะได้อินพุตเป็น 110+110=220VAC>>>


     เมื่อท่านต่อเสร็จแล้ว ก็ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนเสียบปลั้ก ใครวัดโอห์ม Pri แล้วได้ต่ำอย่าตกใจครับ ปกติจะได้ประมาณ 2-5OHM ครับ วัดได้ 0 หรือ 0.1 นี่หาหม้อแปลงใหม่ได้เลยครับ หรือกลัวลองเสียบไฟครั้งแรกให้เอาหลอดไฟ 100-200W อนุกรมกับหม้อแปลงได้ครับ โอเคครับ ตรวจเสร็จก็เสียบไฟเลยครับ หม้อแปลงควรไม่ครางนะครับกรณี No Load ถ้าครางอาจจะช็อตหรือแกนมีปัญหา เสร็จแล้วก็ทดลองวัดไฟเลยครับ ตั้งย่านวัดไฟ AC วัดครับ ไฟที่ได้ควรไม่ต่ำจนเกินไป ถ้าต่ำมากลองวัดที่ Output แยกลูกครับ แล้วเอาของแต่ละลูกมารวมกันต้องได้เท่ากับที่วัดรวมหรือน้อยกว่านิดๆครับ ถ้าน้อยกว่ามากเกินคือมีตัวใดตัวหนึ่งผิดเฟสหรือสองตัว ถ้ามีปัญหาดังกล่าวก็แก้ไขให้เรียบร้อยครับมาถึงขั้นตอนสุดท้าย กันแล้ว คือทดสอบครับ ในกรณีนี้ถ้าในขั้นตอนที่แล้ว มีไฟออกราวๆ 28V อย่างน้อยก็มาต่อขั้นตอนนี้ได้เลยครับ หาก V ต่ำกว่านี้ไปพันใหม่นะครับ หรือสร้างอีกตัวมาเพิ่ม V ครับ น้อยเกินมันจะ Arc ไม่ติดครับลวดไม่ละลาย


    เตรียมการต่อสายไฟ AC และ Circuit Breaker ครับ สำหรับหม้อแปลงสองตัวใช้ 20A นะครับ 15A ใช้ได้แต่ทริปบ่อย 3-4 ตัวใส่ 30A ครับ แล้วเดินสายไฟ AC ต่อหัวปลั้กไฟให้เรียบร้อย หัวปลั้กไฟแนะนำให้สเปคไกล้เคียงกับ Circuit Breaker ครับ ผมใช้เป็นหัวปลั้กแบบยางขากลม 20A ของจีน (สเปคไม่เต็ม แต่ไกล้ๆ 20A) ก็พอใช้ได้ครับทดลองลากจนลวดหมดไปหนึ่งเส้น หัวปลั้กไม่ร้อน สาย AC ผมแนะนำว่าให้ใช้อย่างน้อย 2.5mm ครับ สายอ่อน น้อยกว่านี้สายไหม้ครับ แต่ถ้าเป็น 2.5mm นี่ชิลๆไม่ร้อนไม่ร้อน เย็นปกติ


    ปัญหาคอขวดที่พบคือในเรื่องความร้อนครับ ปัญหานี้แก้ได้คือใช้พัดลมเป่าหม้อแปลง ผมแนะนให้ใช้ SUNON ขนาด 220V Bearing ครับ เน้นให้รอบจัดๆนะครับ ลมต้องเยอะไม่งั้น Secondary กลับบ้านเก่าครับ และเวลาเป่าให้เป่าจากด้านบนครับ ให้ลมโกรกโดนลวดทั้งข้างขอหม่้อแปลงครับ ในเรื่องการระบายความร้อนผมแนะนว่าให้ลงกล่องหม้อแปลงนะครับ เปลือยแล้วประสิทธิภาพการระบายความร้อนมันลดลงครับ เนื่องจากลมจากพัดลมพอมันชนกับหม้อแปลงแล้วมันกระจายไปทั่ว แต่ถ้าลงกล่อง ลมมันจะโกรกหม้อแปลงเต็มๆทั้งลุกเพราะมันชนหม้อแปลงได้เต็มๆไม่กระจายหายไป



ต่อ มาก็สายเชื่อม หัวจับ Electode ใช้ไม่ต้องแพงครับ ผมใช้อันละ 69.- สายเชื่อมหาเก่าๆในบ้านเป็นสายจั้มแบตเตอรี่รถ กราวด์ก็ใช้ปากจรเข้ที่ติดมากับสายนั่นแหละครับ




    กลับมาเรื่องความร้อนสักนิดนะครับ อยากให้ต่อตามวงจรครับสำหรับพัดลม คือให้พัดลมทำงานตลอดเวลาที่เสียบปลั้กเลยครับ เป็นเรื่องที่ดีทีเดียว เมื่อพักจิบน้ำก็ปิดในส่วนหม้อแปลง พัดลมก็เป่าลมอัดหม้อแปลงไปเรื่อยๆ แบบนี้จะช่วยลดความร้อนให้หม้อแปลงได้ดีครับ

     สิ่งสำคัญสุดท้ายนะครับ หน้ากากหรือแว่นกันแสง อันนี้สำคัญมาก หากไม่มีแนะนำว่าอย่าลองจะดีกว่าครับไปหามาก่อนค่อยลอง อันตรายมากนะครับถ้าหากท่านฝืนท่านอาจจะตาบอดสีได้เลยครับ งานนี้เราต้อง Safety First นะครับ แล้วไม่ใช่แค่เรื่องแว่นกันแสง ระวังในทุกๆเรื่องครับ เพราะงานนี้เราเล่นกับไฟฟ้าและไฟฟ้า ไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ไม่ควรมาสร้างด้วยซ้ำ อันนี้หวังดีนะครับ คนไม่เคยเล่นกับไฟฟ้าอาจพลาดได้และอาจเสียชีวิตได้ แต่สำหรับมือเก่าทั้งหลายน่าจะเป็นเรื่องชิลๆมั้งแค่นี้เอง อิอิ



ก่อนทดสอบก็ตรวจความแน่ใจอีกครั้ง พร้อมไหม ถ้าพร้อมก็ลุยลองเชื่อมดูเลยครับ






ก็ ท่านอาจจะไม่รู้สึกพอใจที่มันเชื่อมได้ไม่ดีเท่าของขายที่ขายกันราคาเป็นพัน เป็นหมื่น ก็ต้องเขาใจครับ เราดัดแปลงเอาแบบลูกทุ่ง เป็นไปได้ยากที่มันจะสุ้ของขายได้ แต่อย่างน้อยมันก็พอทดแทนได้ในกรณีที่เราไม่อยากลงทุนซื้อของแพงเพราะแทบไม่ ค่อยได้ใช้ ใครอยากแรงจัดหนัก 4 ตัวครับ อาจจะแรงพอๆกับของซื้อก็ได้


จบแล้วครับกับการสร้างตู้เชื่อมสไตล์ลูกทุ่ง ใครที่คิดจะทำก็ขอให้โชคดีครับ ส่วนบทความนี้ก็จบเพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ

GOOD LUCK! ไปก่อน ขอให้มีความสุข



*** มีปัญหาการสร้างหรือสงสัยถามได้เลยครับ ***


 

6 ความคิดเห็น:

  1. ขอเมล เฟส เบอร์โทรหน่อยได้มั้ยครับ

    ตอบลบ
  2. ขอเมล เบอร์โทเฟส หน่อยได้มั้ยอะ

    ตอบลบ
  3. ขอช่องทางติดต่อหน่อย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  4. ใช้แกนเหล็กหม้อแปลงแบบคอร์ขนาด3×6"ก็ได้ครับ.ลวดเบอร์10primaryัน80-10-10-10-10-10-10-10-20-20secondaryลวดเบอร์1พัน20รอบครับ.ใช้เชื่อมได้ตัดได้ครับ

    ตอบลบ