ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

Project : "Kadesinee" Open Baffle Speaker

     เฮ้อ ฟัง Magnet LS-622 มานาน แถมไอ้ตัวใหม่ ISOPHON Arabba ก็ดั้นโดนญาติยืมไป คงจะติดใจเสียงไปแล้ว ไปเอาคืนทีไรมีขอต่อเวลาเรื่อย แหม...ของเขาดีครับ งั้นมา DIY ลำโพงสักตัวแก้ขัดดีกว่าครับไม่เป็นไรไม่ซีเรียสเรื่อง DIY มันสนุกดี มาเล่นง่ายๆกันครับ ตู้ Open Baffle หรือที่นักเล่นชอบเรียกย่อๆสั้นๆคือ OB ครับ ตู้ OB บางคนอาจจะงงๆว่ามันเป็นเยี่ยงไร ตู้ OB หรือ Open Baffle เป็นตู้โง่ๆครับ โง่ๆคือไม่มีอะไรเลย ตู้ OB จะเป็นแค่ไม้แผ่นเดียวเท่านั้นที่เจาะรูใส่ลำโพงไม่มีปิดรอบไม่มีซีลเอาแค่ป้องกันเสียงด้านหน้าและหลังของลำโพงที่ต่างเฟสกัน 180 องศามาหักล้างกันครับ แต่ผลลัพธ์ที่ได้นี่ขอบอกว่ายอดเยี่ยมกันเลยทีเดียวข้อดีของตู้พวกนี้คือ ไม่เลือกดอกครับ ดอกไหนๆก็ใช้ได้หมดครับไม่ว่าจะดีหรือแพงไม่ว่าจะสเปคไหนก็ตามสูตรเดียวใช้ได้ทุกรุ่นในโลกครับ นอกจากนั้นตู้ OB ยังสร้างง่ายไม่เปลืองแรง สุดท้ายคือปรับแต่งเสียงได้ง่าย เพียงแค่ย้ายที่ของตัวตู้เท่านั้น เพราะตัวตู้ OB จะ Interactive กับห้องพอสมควร อันนี้เป็นข้อดีตรงที่เกิดเสียงทที่ได้ไม่พอใจเราก็สามารถเลื่อนหาจุดที่เหมาะกับลำโพงได้ไม่เหมือนตู้เปิด-ปิดทั่วๆไปที่เสียงจะตายตัวกับตัวตู้
     โปรเจ็คคราวนี้ก็ไม่มีขั้นตอนมาให้ชมนะครับ จะมีเพียงรูปสำเร็จแล้วเท่านั้นครับ สำหรับโปรเจ็คนี้ผมตั้งชื่อไทยๆเลยครับ "Kadesinee" หรืออ่านแบบไทยคือ "เกดสินี" การตั้งชื่อของผมก็ไม่ได้มาจากแรงบันดาลใจอะไรครับ รู้สึกอยากตั้งก็ตั้งๆไปไม่มีความหมาย :P ซะงั้น ฮ่าฮ่าๆ




     เป็นยังไงละครับ ตู้ OB ฝาบ้านโดยแท้ครับ คือปกติแล้วตู้ OB ยิ่งใหญ่เบสจะยิ่งดีครับ แต่มันก็ต้องไม่ใหญ่เกินด้วยครับ และ ต้องเผื่อขนาดกับห้องที่ฟังครับ อย่าให้เทาะทะ ให้มีพื้นที่เหลือในการจัดเสียงด้วยครับ
     ไปดูรอบๆกันดีกว่าครับ รายละเอียดของเจ้าตัวนี้มีไม่มากครับ


     ด้านหน้าครับ ดอกที่ใช้เป็นดอก 12 นิ้ว รุ่นโบราณ อายุราวๆ 40 ปีครับ แต่เป็นดอกอายุเยอะที่ไม่ใช่แบบไร้กล้ามเนื้อนะครับ แรงที่จะเขย่าไม้ 15mm ให้สั้นเป็นเจ้าเข้านั้นมีครับ ดอกนี้เวลาเปิดเพลงที่รายละเอียดเสียงทางเบสมากไล่เสียงต่ำๆเล่นเอาไม้ที่ทำ OB นั้นสั่นกันเป็นจังหวะเหมือนซับทีเดียว ดอกตัวนี้เดินทางมาไกลครับจาก Denmark ยี่ห้อ Peerless รุ่น E120CM ความต้านทาน 4 OHM กำลังสูงสุดที่ขับได้คือ 5W อย่าดูถูกนะครับว่าแค่ 5W ตัวนี้กินดอกปัจจุบันมาหลายตัวแล้ว เพราะสมัยก่อนเป็นเครื่องหลอด กำลังมันน้อย ลำโพงสมัยก่อนจึงถูกผลิตมาให้มีความไวสูงมากๆเพื่อชดเชยกับกำลังของแอมป์หลอดที่มีน้อยนั่นเองครับ


     ทวีตเตอร์ครับ เป็นของ Onkyo ถอดมาจากตู้ ไม่มีรุ่นโมเดล ไม่มีข้อมูลใด รู้แต่ว่า 8 OHM ครับ ฮ่าฮ่า ลองจับคู่ทุ้มกับแหลมพบว่ามันเข้ากับทุ้มตัวนี้ได้ดีเยี่ยมครับ


     ด้านข้างในส่วน Binding Post และ Attentuator ปรับความดัง-เบาของเสียงแหลมครับ


     ด้านหลังของ Binding Post และ Attent เป็นเน็ตเวิร์คง่ายๆครับ Volumn WireWound กับ Capacitor ง่ายๆครับ แต่ได้ผลดี ซีผมจะใช้ของ Q4 ค่า 2.7/400 ยี่ห้ออาจจะดูแปลกนะครับ แต่ถ้าใครรู้จัก Audyn ก็จะถึงบางอ้อครับ ค่ายเดียวกันครับ Q4,Q6,Audyn Cap แต่เป็นคนละเกรด ซึ่งในงาน xOver ใช้ Q4,Q6 ก็เพียงพอแล้วครับ และตัว Volumn ผมใช้ OBATA ขอญี่ปุ่น ความต้านทาน 8 OHM 60W ครับ ของทั้งหมดนี่เป็นของในบ้านครับเจออะไรก็เอามาประกอบครับเลยได้อย่างที่เห็นครับ


     ด้านหลังครับ เดินสายง่ายๆใช้ "ตีนตุ็กแก" ช่วยครับ ทำให้เดินสายง่ายขึ้นเยอะไม่ต้องเจาะไม้ติดที่ยึด การประกอบอะไรสักอย่างโดยเฉพาะที่โชว์วงจรแบบนี้ต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษครับ แค่การเดินสายก็ลำสัญมากๆครับ


     ดอกครับ Peerless รุ่น E120CM ขนาด 12 นิ้ว เก่าแต่เก๋าครับ ซัด 12 นิ้วตลาดทั่วๆไปตายเรียบครับ โดยเฉพาะคุณภาพเสียงที่ไม่เป็นรองใครครับ

     ฝากเล็กน้อยครับ กับวิดิโอทดสอบเสียง เสียงมันจะฟังแย่หน่อยนะครับ เพราะผมอัดมากับโทรศีพท์มือถือซึ่งแน่นอนมันแย่มาก แค่การจัดวางไมค์ก็สุดยอดเลยครับ มีแต่ไมค์ซ้ายที่หันหาลำโพง ไมค์ขวามันไปคนละด้าน :P


     จบแล้วครับวันนี้ ชักง่วงๆละ ไม่รู้ทำไมชอบมาเขียนบล็อคตอนดึกๆ ง่วงก็ง่วงนะแต่ก็อยากเขียนสนุกๆ ตอนนี้ก็เหลือแต่ "Kemeny" The Subwoofer Killer โปรเจ็คนึง คิดว่าอาทิคย์หน้าโน้นก็น่าจะเสร็จครับ ถ้าของที่สั่งที่มากับ ปณ. ไม่หายกลางทางซะก่อน เสียวๆอยู่ครับ เคยมาแล้วดีที่ว่าคนขายเขารับผิดชอบให้ วันนี้ก็สวัสดีครับ รอติดตามชมเจ้า "Kemeny" นะครับ :)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไว้จะรบกวนข้อมูล
    มี ลำโพง ๔ โอห์ม อยู่ คู่พอดี
    ไว้พร้อม จะขอคำแนะนำครับ

    ตอบลบ