ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Project : Class A Headphone Amplifier Rev.1 - Power Supply

   ต่อครับ หลังจากภาคขยายเสร็จ เราได้เขียนภาคจ่ายไฟต่อ โดยเน้นการจ่ายกระแสที่เหลือเฟือต่อการใช้งาน โดยภาคจ่ายไฟ Type.1 อาจจะดูโอเวอร์ไปซักนิด แต่สำหรับ Class A Amplifier เราห้ามลืมภาคจ่ายไฟเด็ดขาด ไม่ใช่ว่าทำเอาง่ายๆซี,ไดโอด,หม้อแปลง มีคนเยอะมากที่ทำ Power Amplifier แบบ Class A แล้วละเลยในภาคจ่ายไฟ คิดว่าทำง่ายๆก็ได้ไม่มีปัญหา แต่จริงๆไม่ใช่ นอกจากเราต้องพิถีพิถันในภาคขยายแล้ว ภาคจ่ายไฟต้องใส่ใจไม่แพ้กัน คนที่ไม่ใส่ผมเจอมาบางก็ Transformer>Bridge Diode>Capacitor>Power Amp ผลที่ได้คือ เสียงฮัมเยอะมาก บางคน(โดยเฉพาะคนที่ทำเครื่องเสียง PA) จับ Switching ใส่ซะเลย เพราะหลงคิดว่าสวิตชิ่งมันดีกว่าหม้อแปลง แต่ไม่เลยพอใส่ปุ้ป ทั้งฮัมทั้งจี่ออกหนักกว่าหม้อแปลงหลายขุม  ฉะนั้นภาคจ่ายไฟของ Power Amp Class A ต้องใส่ใจให้มากๆจะเล่นง่ายๆไม่ได้
   ของเรา เราออกแบบไว้ค่อนข้างจะโอเคครับ

    กดที่รูปเพื่อรูปขนาดใหญ่นะครับ จะได้เห็นวงจรชัดๆ ผมจะอธิบายเป็นส่วนๆไปนะครับ เริ่มจากวงจรด้านบนสุด ในส่วน INPUT 220VAC  มี SW1 เป็นสวิตเปิดปิดวงจรและ C ค่า 0.01uF คร่อมสวิตทั้งสิงตัวเป็น Spark Killer และ Softstart ไปในตัว ผ่าน FUSE เพื่อป้องกันกระแสไหลเกิน และ C50,C51,AC CHOKE เป็นตัวกรองกระแสไฟในเรียบยิ่งขึ้น



   ต่อกับภาคจ่ายไฟขนาดมหึมาด้านล่าง เริ่มจากกระแสไฟ 220VAC จะถูกลดแรงดันลงมาเหลือ  15VAC-0-15VAC แล้วผ่านเข้าไดโอดเพื่อแปลงเป็นกระแสตรง (Diode ตรงนี้ในวงจรไม่ได้ใส่ Csnubber ไว้ ใช้ง่านจริงควรใส่ด้วยครับ) แล้วผ่าน R 0.5 โอห์ม 5W ที่ขนานกันเพื่อลดการกระชากของกระแสไฟเมื่อวงจรเริ่มทำงาน กรองไฟด้วย Capacitor ค่า 1000uF 20 ตัว (ซีกละ 10 ตัว) รวมความจุ 10,000uF เพื่อกรองให้แรงดันไฟเรียบ เหตุผลว่าทำไมต้องเอาค่าน้อยๆมาขนานกัน มันเกี่ยวข้องกับค่า ESR ในตัวเก็บประจุครับ หรือความต้านทานภายใน การขนานจะช่วยลดค่า ESR ได้ดี และ Capacitor ค่าน้อยๆโดยปกติจะมีค่า ESR น้อยอยู่แล้ว เมื่อนำมาขนานค่า ESR จะถูกลดลงอย่างมากครับ  ต่อจากนั้นก็จะมี C21,C22 ทำหน้าที่กรองสากเสี้ยนและสัญญาณรบกวนทิ้งอีกชั้นหนึ่งแล้วใช้ R1,R2 ช่วยคายประจุหลังจากปิดเครื่องและผมพบว่าเมื่อใส่ R1,R2(R3,R4) แล้ว เสียงที่ได้มันสะอาดขึ้นเยอะมากครับ  จากนั้นจะมี RG1,RG2 ทำหน้าที่เป็น Regulator แบบ Linear เพื่อปรับแรงดันไฟให้ได้ +/-15V แล้วจึงผ่านเข้าสู่วงจรสำรองกำลังไฟ Capacitor 10,000uF อีกครั้งหนึ่ง (หลักการเหมือนข้างบนครับ) แล้วจึงปล่อยกระแสไฟเลี้ยงภาคขยาย

   และวงจรสุดท้ายภาคจ่ายไฟ Auxillary +12Vdc เป็นวงจร Regulator แบบง่ายๆ ตรงนี้จะมี หม้อแปลงลดแรงดันไฟจาก 220VAC เหลือ 12VAC แล้วผ่าน BR1 เพื่อเปลี่ยนแรงดันกระแสตรงกรองไฟด้วย C ค่า 2,200uF และ R9 ช่วยคายประจุ ผ่านเข้า RG3 เพื่อปรับแรงดันให้คงที่ ที่ 12Vdc มี C ค่า 470uF เพื่อสำรองกำลังและ R10,D5 เป็นภาคแสดงผลการทำงานครับ

--------------------------------------------------------------------

   จบแล้วครับกับภาคจ่ายไฟของ Class A Headphone Amplifer Rev.1 ต้องขอบอกว่าหลักการที่ใช้นั้นอาจจะออกนอกทฎษฎีไปแบบไม่มีเหตุผลบ้าง แต่ผลการทดลองนั้นได้ผลจริง ใครที่รับไม่ได้ก็อย่ามาโพสว่าโน้นนี่นะครับผมก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันแต่ลองแล้วได้ผลจริง ผมเจอช่างคนหนึ่งใช้ชื่อ Avatar คือ *****o ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง คือ ผมลองดังนี้แล้วได้ผลดีเลยไปแนะนำสมาชิกท่านอื่นให้ลองทำอย่างนี้ดู และช่างคนนั้นก็เข้ามาเห็นพร้อมโพสเอาไว้ให้ผมว่าเหตุผลมาว่าทำไมถึงดีขึ้น ผมก็ตอบๆไปแบบเดาๆเพราะผมก็ไม่รู้ทำไม แต่มันดีขึ้นจริงๆ พอทีหลังช่างคนนั้นก็ตามประชดผมซะดื้อๆเลย คืออยากจะบอกนะ ว่า "ถ้าท่านหูไม่ถึงฟังได้แค่เครื่อง PA สูงกว่านี้ฟังแล้วแยกความแตกต่างไม่ออกก็อย่ามาพูดหาเรื่องในเขตที่เขาเล่น Hi Fi หรือ Hi-end" ก็นะครับ แต่มันก็สอนให้ผมรู้นะครับ เทคนิคต่างๆเราไม่ควรเอาไปพูดในบอร์ดที่เล่นเครื่องเสียง PA หรือ เครืองเสียงงานกลางแจ้ง มากนักเพราะบางคนฟังไม่ออกจะโดนว่ากลับมาด้วยซ้ำว่าไร้สาระบ้าง เปลืองบ้าง  งาน PA เขาแข่งที่วงจรอย่างเดียว แต่งาน Hi-end ขาแข่งที่วงจรและอุปกรณ์ เทคนิคต่างๆ แม้กระทั่งสายไฟ อย่าง
 AC ที่เสียงเข้าเครื่องก็มีผลกับคนกลุ่ม DIY Hi-end

   ก็อยากจะฝากไว้ ถ้าไม่ชอบหลักการต่างๆคือไม่เห็นด้วย อย่ามาแย้งถ้าท่านไม่เคยลอง อย่ามาแย้งถ้าหูท่านไม่ถึง ผมไม่อยากเสียเวลาชีวิตมาเถียงด้วย กด ALT+F4 จะดีกว่าครับ  สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น